วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554

เยียวยาผิวด้วยผักและผลไม้ :)


เวลาที่คุณเจอกับปัญหาผิวต่าง ๆ อย่าเพิ่งหยิบหลอดยาทาผิวขึ้นมา ลองใช้วิธีธรรมชาติ ๆ ของเรานี้ดูก่อน

ถ้าคุณมีปัญหาสิวที่ไม่ยอมหายง่าย ๆ

คุณควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เพราะจะทำให้ผิวไวต่อการอักเสบมากขึ้น ฉะนั้น ในช่วงที่สิวยังไม่หายนี้คุณก็ควรเลือกกินผลไม้ที่ไม่ค่อยมีน้ำตาลอย่าง ฝรั่ง ชมพู่ มะละกอ และธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี

ถ้าคุณมีปัญหาผิวแห้ง

คุณก็ควรกินอาหารที่กรดไมันโอเมก้า-3 ในปริมาณสูง อย่างเช่น ผลไม้เปลือกแข็ง ปลาแซลมอน ถั่วเหลือง เพราะจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวของคุณได้ แถมผู้เชี่ยวชาญในเรื่องอาหารยังบอกอีกด้วยว่า อาหารพวกนี้ช่วยลดความเครียดให้คุณได้ด้วย

ถ้าคุณเผลอบีบสิว (ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณไม่ควรเผลอบ่อย ๆ)

คุณก็ควรทาโลชั่นที่มีส่วนผสมของชาเขียว น้ำมันที-ทรี หรือสารสกัดจากชะเอม เพราะจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ และช่วยให้รอยแดง ๆ จากการบีบสิวจางลงได้

ถ้าคุณมีผื่นคันเกิดขึ้นตามร่างกาย

ก็ลองบดแตงกวาที่ปลอกเปลือกออกแล้วให้ละเอียด แล้วทาลงบนผิวในบริเวณที่มีปัญหา ปล่อยทิ้งไว้ซักประมาณสองสามนาที เพื่อช่วยขจัดรอยแดง ๆ และอาการระคายเคืองออกไป

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ทานฟาสต์ฟู้ดบ่อยเกินไป อาจทำให้คะแนนสอบต่ำลง -0-


ที่มาภาพ : http://www.sxc.hu/photo/1097100

การทานอาหารฟาสต์ฟู้ดมากเกินไปไม่เพียงแค่ทำให้น้ำหนักตัวมากเกินไปเสียแล้ว
แต่ยังทำให้ผลคะแนนสอบต่ำลงด้วย จากงานวิจัยของคณะนักวิจัยมหาวิทยาลัย
แวนเดอบิลท์ ที่รัฐเทนเนสซี ที่ทำการศึกษากับนักเรียนชั้นประถมศึกษาจำนวน
5,500 คน โดยการติดตามพฤติกรรมการกินของเด็กนักเรียน อายุ 10-11 ขวบ
แล้วเปรียบเทียบกับผลการทดสอบวิชาการอ่าน และวิชาคณิตศาสตร์

ในภาพรวมเด็กนักเรียนจะทำคะแนนในการทดสอบได้ระหว่าง 58-181 คะแนน
ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 141.5 คะแนน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับจำนวนครั้งที่ทานฟาสต์ฟู้ด
พบว่า นักเรียนเกินกว่าครึ่งที่ทานฟาสต์ฟู้ดมากกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ก่อนสอบ
ได้คะแนนสอบต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ดังนี้

คนที่ทาน 4-6 ครั้งต่อสัปดาห์ ทำคะแนนสอบได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 7 คะแนน, คนที่ทาน 1 ครั้งต่อวัน ทำคะแนนสอบได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 16 คะแนน และคนที่ทาน
3 ครั้งต่อวัน ทำคะแนนสอบต่ำลงถึง 19 คะแนน จากงานวิจัยครั้งนี้จึงสรุปได้ว่า
การทานฟาสต์ฟู้ดที่บ่อยมากขึ้นนั้น มีความสัมพันธ์กับการที่คะแนนสอบต่ำลง

แม้ว่างานวิจัยนี้จะไม่ได้วิจัยถึงผลกระทบต่อสมองโดยตรง เพียงแต่วัดจากคะแนน
ทำสอบ และความบ่อยในการทานฟาสต์ฟู้ดเท่านั้น แต่เพื่อความไม่ประมาท
ควรทานอาหารที่มีคุณค่าในแต่ละวันให้ได้สารอาหารครบ 5 หมู่ เพื่อประโยชน์
สูงสุดต่อระบบการทำงานของร่างกาย

เริ่มแรกมีรถเมล์ในประเทศไทย


ปี พ.ศ. 2428 ประเทศไทยมีรถเทียมม้า ซึ่งเรียกกันว่า "รถเมล์" และวิ่งตามเส้นทางเรือเมล์ที่มีอยู่ก่อนแล้ว แต่ให้บริการอยู่ประมาณ 2 ปี จึงเลิกกิจการเนื่องจากมีการนำรถรางเข้ามาใช้แล้ว

ปี พ.ศ. 2450 พระยาภักดีนรเศรษฐ หรือ นายเลิศ เศรษญบุตร เริ่มกิจการรถเมล์ขึ้นอีกครั้ง ให้บริการระหว่าง สะพานยศเส (สะพานกษัตริย์ศึก) กับตลาดประตูน้ำ ซึ่งเป็นต้นทางเรือเมล์ของนายเลิศในคลองแสนแสบด้วย เส้นทางนี้ยังไม่มีรถราง กิจการรถเมล์จึงไปได้ดี

ปี พ.ศ. 2456 นายเลิศนำรถยี่ห้อฟอร์ดเข้ามาให้บริการ และขยายเส้นทางไปถึงบางลำพู ย่านการค้าที่สำคัญของยุคนั้น ขนาดของรถใกล้เคียงกับรถม้า มี 3 ล้อ มีที่นั่งเป็นม้ายาว 2 แถว และนั่งได้ประมาณ 10 คน ขณะวิ่งจะมีเสียงโกร่งกร่าง ผู้คนจึงเรียกกันว่า "อ้ายโกร่ง" แต่บางคนเรียกว่า "รถเมล์ขาวนายเลิศ" เนื่องจากตัวรถมีสีขาว และมีเครื่องหมายกากบาทสีแดงในวงกลม

ด้วยนโยบาย "สุภาพ ซื่อสัตย์ ประหยัด ทันใจ เอากำไรน้อย บริการผู้มีรายได้น้อย" ทำให้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น กิจการก็เติบโตขึ้นด้วย จึงมีการพัฒนาเป็นรถ 4 ล้อ ที่ออกแบบขึ้นเอง มีที่นั่ง 2 แถวด้านข้าง ขยายเส้นทางออกไปอีกหลายสาย และมีผู้ประกอบการรายอื่นเพิ่มขึ้นมา รวมแล้วประมาณ 30 ราย ให้บริการไปทั่วกรุงเทพฯ ตัวรถเมล์มีทั้งสีแดง เหลือง และเขียว

ปี พ.ศ. 2497 เริ่มมีการจัดระเบียบรถเมล์ โดยรัฐบาลออก พ.ร.บ. ขนส่ง ควบคุมให้ผู้ประกอบการต้องขอใบอนุญาตก่อนทำกิจการรถเมล์

ปี พ.ศ. 2518 รัฐบาลสมัยของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช (หม่อมน้อง) ให้รวมกิจการรถเมล์ในกรุงเทพฯ เป็นบริษัทเดียวกัน คือ บริษัทมหานครขนส่ง จำกัด ซึ่งอยู่รูปแบบของรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐและเอกชนถือหุ้นพอๆ กัน ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2519 รัฐบาลสมัยของ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช (หม่อมพี่) ได้ออกพระราชกฤษฎีการวมกิจการของ บริษัทมหานครขนส่ง จำกัด เข้ากับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม

กิจการรถเมล์ขาวนายเลิศ ที่ดำเนินการมาเป็นเวลา 70 ปี ในขณะนั้นได้รับสัมปทานเดินรถ 36 สาย มีจำนวนรถ 700 คัน และมีพนักงานถึง 3,500 คน จึงเลิกกิจการไปในปี พ.ศ. 2520 โดยอู่รถเมล์ขาวนายเลิศเดิม ได้กลายเป็นสถานที่ตั้งของโรงแรมปาร์คนายเลิศ ณ ถนนวิทยุ ในปัจจุบันนั่นเอง



วันมหิดล (24 กันยายน )

วันมหิดล (24 กันยายน )

วันมหิดล
24 กันยายน ของทุกปี

ความหมาย

24 กันยายน วันมหิดล เป็น วันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระราชชนกที่ทรงมีคุณูปการต่อการแพทย์สมัยใหม่ของไทย

ความเป็นมา
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทราบรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า พระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2434 และเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2472 มีพระนามเดิมว่าสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช ในเบื้องต้น ได้ทรงศึกษาวิชาทหารเรือ ณ ประเทศเยอรมนี จากนั้นเสด็จกลับมารับราชการทหารเรือ ต่อมาทรงมีอาการประชวรเรื้อรัง ไม่สามารถรับราชการหนักได้ ประกอบกับทรงสนพระทัยในกิจการทางด้านการแพทย์ จึงทรงอุตสาหะเสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุข และวิชาแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุข และปริญญาแพทย์ศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตเกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด หลังจากเสด็จกลับมาเมืองไทย พระองค์ได้ทรงประกอบพระกรณียกิจทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขอย่างมากมาย

ด้วยความรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ผู้ที่เคยได้รับพระกรุณาในด้านต่างๆ จากพระองค์ จึงได้รวบรวมเงินจัดสร้างพระรูปประดิษฐานไว้ ณ โรงพยาบาลศิริราช โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้างมีศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี เป็นผู้ควบคุม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2493 และในวันที่ 24 กันยายนปีเดียวกันนี้เอง นักศึกษาแพทย์ได้ริเริ่มจัดงานขึ้นเป็นครั้งแรก เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ โดยมีพิธีวางพวงมาลา ถวายบังคมพระรูป อ่านคำสดุดีพระเกียรติเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ และทางคณะแพทย์ศาสตร์ และศิริราชพยาบาล ได้มีความเห็นพร้อมต้องกันว่าให้ยึดถือเอาวันที่ 24 กันยายนของทุกปี เป็นวันที่น้อมรำลึกถึงพระองค์โดยให้ชื่อว่า วันมหิดล และงานวันมหิดลได้จัดขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก ในวันที่ 24 กันยายน 2494 โดยจัดให้มีพิธีสงฆ์ ทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเช้า และการนำพวงมาลาไปสักการะที่พระรูป


พระราชกรณียกิจมากมายที่พระองค์ได้ทรงประกอบไว้มีดังนี้

  1. ทรงเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์
  2. ทรงช่วยเหลือในการขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช
  3. ประทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ และจัดสร้างตึกคนไข้ และจัดหาที่พักสำหรับพยาบาลให้ได้อยู่อาศัย
  4. ทรงบริจาคทรัพย์เป็นทุนสำหรับส่งนักศึกษาแพทย์ และนักเรียนพยาบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศ
  5. ประทานเงินเพื่อใช้ในการจัดหาเครื่องมือ สำหรับปฏิบัติการให้แก่โรงพยาบาล
  6. ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลติดต่อกับมูลนิธิรอคกีเฟลเลอร์ สาขาเอเซียบูรพา ในการปรับปรุง และวางมาตรฐานการศึกษา
  7. ทรงอุทิศเวลาส่วนใหญ่ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยด้วยพระองค์เอง

วัตถุประสงค์โดยสรุป

  1. เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ให้ปรากฏแก่ มวลสมาชิกทั่วโลก
  2. เพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลอง ร่วมกับ ประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่อมเชิดชูเกียรติ ในการนี้ รัฐบาลไทย โดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมเพื่อให้ยูเนสโก ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติและได้ประกาศ ยกย่องสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

วันศิลป์ พีระศรี

วันศิลป์ พีระศรี
15 กันยายน


วันที่ 15 กันยายน เป็น วันศิลป พีระศรี ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี (Silpa Bhirasri) บุรุษผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย เป็นบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นทั้งศิลปินและปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้สร้างความเป็นปึกแผ่นแก่วงการศิลปะไทย ให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ชีวิต ผลงาน และแนวคิดของท่านนอกจากจะคงค่าในตัวเองแล้ว ยังสะท้อนภาพหลายประการถึงอุปสรรคของการพัฒนาศิลปะในยุคที่ท่านยังมีชีวิต อยู่

ปกติแล้ว วันที่ 15 กันยายน ในสมัยที่ศาสตราจารย์ศิลป์ ยังมีชีวิตอยู่ จะถือเป็นวันที่ศิษย์โรงเรียน ศิลปศึกษาทุกคนต่างรอคอย เพราะคือโอกาส การได้ร่วมงานวันเกิด ของผู้เป็นครูศิลป์ ที่บ้านพัก ของท่าน ซอยสายลม ถนนพหลโยธิน ศาสตราจารย์ศิลป์ จะอยู่ร่วมงาน เล่านิทาน ร้องเพลง และหยอกล้อกับศิษย์ดังปฏิบัติต่อลูกหลาน

จวบจนปัจจุบัน วิทยาลัยช่างศิลป สำนึกในบุญคุณของท่านผู้ริเริ่มวางรากฐาน และก่อตั้งวิทยาลัย ช่างศิลป จึงได้จัดกิจกรรมรำลึกศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ในวันเกิดของท่านคือ วันที่ 15 กันยายน มาตลอดทุกปี และตั้งเป็นวัน "ศิลป์ พีระศรี" เพียงแต่วันนี้ไร้ ร่างเจ้าของวันเกิด เหลือไว้ก็แต่คำสอน และสถานศึกษาศิลปะ ตลอดจนคุณความดีที่ไม่มีใครลืม “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”


ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี (Silpa Bhirasri)


ประวัติศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่า คอร์ราโดเฟโรจี ( Professor Corrado Feroci ) เป็นชาวนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เกิดเมื่อ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ณ. ตำบล San Giovanni บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci มีอาชีพค้าขาย

เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม เมื่อปีพ.ศ.2441ภายหลังจบหลักสูตร 5 ปีจึงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอีก 5 ปี จากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะ แห่งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปีและได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียนซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับ ปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม

ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระประสงค์จะหาช่างปั้นมาช่วยปฏิบัติราชการเพื่อฝึกฝนให้คนไทยสามารถปั้น รูปได้อย่างแบบตะวันตกและสามารถมีความรู้ถึงเทคนิคต่างๆในงานมาปฏิบัติ ราชการกับรัฐบาลไทย ทางรัฐบาลอิตาลีจึงเสนอนาย คอร์ราโด เฟโรจี มาพร้อมทั้งคุณวุฒิและผลงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยินดีรับเข้าเป็นข้าราชการในตำแหน่งช่างปั้น กรมศิลปากรกระทรวงวัง

เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 เมื่ออายุย่างเข้า32 ปีโดยได้รับเงินเดือนๆละ 800 บาทค่าเช่าบ้าน 80 บาท และต่อมาในปี พ.ศ.2469 ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ช่างปั้นหล่อแผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภาได้รับ เงินเดือนๆละ 900 บาทต่อมาได้ย้ายมาเป็นช่างปั้น สังกัดอยู่ในกองประณีตศิลปกรรมกรม ศิลปากรกระทรวงธรรมการ

ท่านได้วางหลัก สูตรอบรมกว้างๆและทำการสอนให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมทั้งภาค ทฤษฎีและภาคปฏิบัติผู้ได้รับการอบรมรุ่นแรกๆส่วนมากสำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนเพาะ- ช่างได้แก่ สาย ประติมาปกร สุข อยู่มั่น ชิ้น ชื่อประสิทธิ์ สวัสดิ์ ชื่นมะนา และ แช่ม แดงชมพู

ผู้ที่มาอบรมฝึกงานกับศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมทั้งสิ้นเพราะทางราชการมีนโยบายส่ง เสริมช่างปั้นช่างหล่อให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน

ซึ่งต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้มาเป็นผู้ ช่วยช่างและบางคนก็เข้ารับราชการช่วยแบ่งเบาภาระงาน และช่วยทำให้กิจการปั้นหล่อของกรมศิลปากรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อทาง ราชการเห็นความสำคัญของการศึกษาศิลปะตามแนวในปัจจุบันจึงได้ขอให้ ศาสตราจารย์ศิลป์ พระศรี เป็นผู้วางหลักสูตรการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกันกับ โรงเรียนศิลปะในยุโรป

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จึงเริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกชื่อ " โรงเรียนประณีตศิลปกรรม " ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง" และในปีพ.ศ.2485กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวง ศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขา หนึ่งของชาติ

จึงได้มีคำสั่งให้อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นคือพระยาอนุมานราชธนดำเนินการ ปรับปรุงหลักสูตร และ ตราพระราชบัญญัติยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชาคือ สาขาจิตรกรรมและสาขาประติมากรรมและมี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดี คนแรก ดังนั้นการเรียนการสอนศิลปะในสาขาวิชาศิลปะจึงเริ่มดำเนินการในระดับปริญญา ขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในปีพ.ศ.2491 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้นำศิลปะไทยไปแสดง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปีนี้ท่านได้เดินทางกลับไปประเทศอิตาลีและเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง ในต้นปีพ.ศ.2492โดยกลับมาใช้ชีวิตเป็นครูสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาทางด้านศิลปะ ที่คณะจิตรกรรม และประติมากรรม

ในปีพ.ศ.2496 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีได้รับหน้าที่อันมีเกียรติ คือ เป็น ประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับ สมาคมศิลปะนานาชาติ (International Association of Art) ในปีพ.ศ.2497 ได้เป็นผู้แทนศิลปินไทยไปร่วมประชุมศิลปินระหว่างชาติ ครั้งแรกที่ประเทศออสเตรียท่านได้นำเอกสารผลงานศิลปะและบทความชื่อศิลปะร่วม สมัยในประเทศไทย(Contemporary Art inThailand) ไปเผยแพร่ในการประชุมด้วยทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยดีขึ้นและนับเป็นคน แรกที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะระหว่างศิลปินไทยและศิลปินต่างประเทศขึ้น

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ 70 ปี

กำหนดการสอบ GAT PAT




UploadImage